รหัสเทียม
รหัสเทียม
หรือ ซูโดโค้ด (Pseudo Code)
เป็นคำสั่งที่จำลองความคิดเป็นลำดับขั้นตอนโดยใช้สัญลักษณ์เป็น
ประโยคภาษาอังกฤษ ซึ่งซูโดโค้ดไม่ใช่ภาษาโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์จึงไม่
สามารถนำไปประมวลผลได้ คือ ไม่สามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง
แต่เป็นการเขียนจำลองคำสั่งจริงแบบย่อๆ ตามอัลกอริทึมของโปรแกรมระบบ
เพื่อนำไปพัฒนาเป็นการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ได้
เป็นเครื่องมือในการกำหนดโครงร่างกระบวนการทำงานของการเขียนโปรแกรมแต่ละโปรแกรม
เป็นต้นแบบในการทบทวน
ปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาโปรแกรมของโปรแกรมเมอร์ และนักวิเคราะห์ระบบ
เป็นตัวกำหนดงานเขียนโปรแกรม
เพื่อให้โปรแกรมเมอร์นำไปพัฒนาเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อสั่งให้ คอมพิวเตอร์ทำงานตามกระบวนการที่ได้จำลองกระบวนการจริงไว้ในซูโดโค้ด
วิธีการเขียนซูโดโค้ด
ประโยคคำสั่ง (Statement) จะอยู่ในรูปแบบของภาษาอังกฤษอย่างง่าย
ในหนึ่งบรรทัด
ให้เขียนประโยคคำสั่งเพียงคำสั่งเดียว
ควรใช้ย่อหน้า
เพื่อแยกคำเฉพาะ (Keywords) ได้ชัดเจน
รวมถึงจัดโครงสร้างการควบคุมให้เป็นสัดส่วน ซึ่งช่วยให้อ่านโค้ดได้ง่าย
แต่ละประโยคคำสั่งให้เขียนลำดับจากบนลงลาง
โดยมีทางเข้าเพียงทางเดียว และมีทางออกทางเดียวเท่านั้น
ตัวอย่างการเขียนรหัสเทียม
Pseudo
Code
Algorithm
Problem_1
Variables :
mLoop, Sum, testScore, average
Begin
Input mLoop
For I = 1 to
mLoop
Input
testScore
Sum = Sum +
testScore
Next
average =
Sum / mLoop
Print
average
End
Problem_1
รูปแบบการเขียน
Pseudo
Code
1. การกำหนดค่า และการคำนวณ
name = expression
name คือ ชื่อตัวแปรที่ใช้สำหรับเก็บค่า
2. การอ่าน/รับข้อมูล
การอ่านข้อมูลสามารถใช้คำสั่ง
READ,
INPUT หรือ GET ได้ โดย
Read
variables_1 ,variables_2, variables_3
Get
variables_1 ,variables_2, variables_3
READ ใช้สำหรับการอ่านค่าที่มีอยู่แล้ว
มาเก็บไว้ในตัวแปร เช่น การอ่านข้อมูลจากไฟล์ โดยจะทำงานร่วมกับ OPEN (การเปิดไฟล์)
INPUT และ GET ใช้สำหรับการรับค่าข้อมูลผ่านทางแป้นพิมพ์
Variable คือ ตัวแปรที่ใช้เก็บข้อมูลที่อ่านหรือรับเข้ามา
ซึ่งสามารถกำหนดได้ ตามจำนวนตัวแปรที่ต้องการ โดยใช้เครื่องหมาย “,” คั่นระหว่างชื่อตัวแปร
3. การแสดงผลข้อมูล
การแสดงผลข้อมูลสามารถใช้คำสั่ง
Print ,
Prompt, Write
print
variables_1 ,variables_2, variables_3
prompt
variables_1 ,variables_2, variables_3
write
variables_1 ,variables_2, variables_3
PRINT
และ PROMPT ใช้สำหรับการพิมพ์ค่าข้อมูล หรือข้อความ
WRITE ใช้สำหรับการบันทึกข้อมูลลงในแฟ้มข้อมูล
5. ในกรณีที่มีหลายเงื่อนไข
การใช้
IF อาจทาให้ตรวจสอบโปรแกรมได้ยาก
สามารถใช้คาสั่ง CASE …. END CASE แทนได้
ตัวอย่าง
CASE
score OF
>=
80 : grade = “A”
>=
70 : grade = “B”
>=
60 : grade = “C”
<
60 : grade = “F”
ENDCASE
6. การทางานเป็นรอบ (Loop)
การทางานเป็นรอบด้วยลูป
WHILE …
ENDWHILE
WHILE<condition>
activity1
activity2
activity3
ENDWHILE
การทำงานของลูป
WHILE จะมีการตรวจสอบเงื่อนไขก่อน
โดยหากเงื่อนไขเป็นจริง จะทำกิจกรรมภายในลูปซ้ำไปเรื่อยๆ
จนกระทั่งเงื่อนไขเป็นเท็จ ก็จะออกจากลูปแต่หากเงื่อนไขที่ตรวจสอบครั้งแรกเป็นเท็จ
ก็จะไม่มีการทากิจกรรมภายในลูปเลย
ตัวอย่าง
num
= 1
WHILE
num <= 20
PRINT
num
num
= num + 1
ENDWHILE
PRINT
“STOP RUN”
7. การทำงานเป็นรอบ (Loop)
การทำงานเป็นรอบด้วยลูป
DO … UNTIL
DO
activity1
activity2
activity3
UNTIL
<condition>
การทำงานของลูป
DO … UNTIL จะทำกิจกรรมภายในลูปก่อนหนึ่งรอบ
จากนั้นจะทาการตรวจเงื่อนไข โดยจะวนซ้าไปเรื่อยๆ จนกว่าเงื่อนไขจะเป็นจริง
จึงหลุดออกจากลูป และถึงแม้เงื่อนไขที่ตรวจสอบเป็นจริงตั้งแต่แรก แต่ลูป DO…UNTIL ก็จะมีการทากิจกรรมภายในลูปอย่างน้อยหนึ่งรอบเสมอ
ตัวอย่าง
num = 0
DO
PRINT “HELLO…”
num = num + 1
UNTIL num > 20
8. การทำงานเป็นรอบ (Loop)
การทางานเป็นรอบด้วยลูป
FOR … NEXT
FOR
i=1 to n
activity1
activity2
activity3
Next